โรงพยาบาลทุ่งฝน จ.อุดรธานี

www.thungfonhospital.go.th

THUNGFON HOSPITAL UDONTHANI

ยินดีต้อนรับสู่ โรงพยาบาลทุ่งฝน ที่อยู่ : 134 หมู่ 11 ตำบลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี 41310

โรงพยาบาลทุ่งฝน จ.อุดรธานี
www.thungfonhospital.go.th
 
ไทย : EN
ขนาดตัวอักษร
Hotline 042-268051

 
 

แผนยุทธศาสตร์โรงพยาบาล

Administrator, 17 พ.ย. 2559 09:02 น.

ยุทธศาสตร์โรงพยาบาลทุ่งฝน ปี 2556-2558

วิสัยทัศน์
โรงพยาบาลทุ่งฝนเป้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชั้นนำของจังหวัดอุดรธานี

พันธกิจ
ข้อที่ 1 ให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสภาพ อย่างมีคุณภาพ
ข้อที่ 2 ส่งเสริมให้ชุมชนเป็นชุมชนเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้
ข้อที่ 3 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อที่ 4 พัฒนาระบบบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อที่ 5 พัฒนาโครงสร้างทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย เอื้อต่อการสร้างสุขภาพ และการเยียวยา

ค่านิยม
มุ่งมั่น ปลอดภัย ใส่ใจ เรียนรู้

เป้าประสงค์
1. ประชาชนได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสภาพ อย่างมีคุณภาพ
2. พหุภาคีมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการจัดการสุขภาพ
3. เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ
4. เพื่อพัฒนาระบบการเงินการคลังและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
5. เพื่อพัฒนาโครงสร้างทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ และ เอื้อต่อการเยียวยา

ความท้าทาย
1. พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยในกลุ่มโรคสำคัญของพื้นที่ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัย
2. ธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยตาม PSG
3. การบริหารงบประมาณ
4. บุคลากรมีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ ภารกิจงาน มีสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคที่มีความสำคัญ มีความผาสุกและมีความปลอดภัยจากการทำงาน
5. มีระบบสารสนเทศที่ทันสมัยและเอื้อต่อการให้บริการทางด้านสุขภาพ
6. การเพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ
7. การส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนครอบคลุมกลุ่มดี เสี่ยง ป่วย
8. มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ และการเยียวยา
9. ขยายเครือข่ายการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชน แผนยุทธศาสตร์โรงพยาบาลทุ่งฝน ปีงบประมาณ 2556-2558

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน ธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมความปลอดภัย (PCT)
จุดเน้นที่ 1 การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและภัยสุขภาพในกลุ่มโรคที่ที่มีความสำคัญ และเป็นปัญหาของพื้นที่ โดยเน้นพัฒนาระบบการดูแล ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูผู้ป่วย ในกลุ่มโรค
- Non Trauma ได้แก่ STEMI, Stroke, Sepsis
- Trauma ได้แก่ Head injury
- Chronic disease ได้แก่ DM, HT
- มารดาและทารก ได้แก่ Teenage pregnancy (Prevention, การดูแลตั้งแต่ ANC ถึง หลังคลอด)
- โรคระบาด ได้แก่ DHF, Diarrhea, TB
- โรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่ ได้แก่ ฟันผุในเด็ก

จุดเน้นที่ 2 ธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยตาม Patient safety goal (RM)
- S : Safe surgery
- I: I 2.1 CAUTI, Hand hygiene
- M: M3 Medication Reconciliation, M2 Safe from medication error, M4 Blood safety M1.2 Improve the safety of High-Alert drug
- P: P2.2 Communication during patient care handovers, P1 Patients identification. P2.1 Effective communication-SBAR
- E: E4: Maternal & Neonatal Morbidity, PSI, PPH E2 Sepsis

จุดเน้นที่ 3 พัฒนาระบบติดตามการป้องกันการติดเชื้อ (IC)
(1) ในกลุ่มผู้ป่วยในกลุ่มที่เป็น Target surveillance ของโรงพยาบาล
(2) การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
- TB, Diarrhea

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ (HRD, PCT, ENV, บริหาร)
จุดเน้นที่ 1 พัฒนาสมรรถนะของบุคลากรตามมาตรฐานวิชาชีพและภารกิจงาน ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคที่เป็นปัญหาของพื้นที่ และมีความเสี่ยงสูง
จุดเน้นที่ 2 บุคลากรมีความผาสุก และมีความผูกพันกับองค์กร
จุดเน้นที่ 3 พัฒนาระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพ
จุดเน้นที่ 4 พัฒนางานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากร

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ (IMT, งานแผนงาน)
จุดเน้นที่ 1 พัฒนาระบบสารสนเทศ โดยเน้นการนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพ
จุดเน้นที่ 2 พัฒนาองค์ความรู้ด้วยการทำวิจัย R2R นวัตกรรม CQI เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการสุขภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ และการเยียวยา (ENV)
จุดเน้นที่ 1 พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ และการเยียวยา
จุดเน้นที่ 2 พัฒนาระบบสาธารณูปโภคและระบบสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีคุณภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ขยายเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง (PCT, PCU)
จุดเน้นที่ 1 ขยายเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งในการดูแลตนเองของผู้ป่วย
- เบาหวาน
- STEMI
- Stroke

ไฟล์เอกสาร ดาวน์โหลด